การกระโดดไปด้านหลัง jumping back และการกระโดดไปดนหน้า Jumping through เป็นหนึ่งในการเคลื่อนไหวหลักที่คุณจะต้องเจอเวลาที่คุณต้องฝึกกลุ่มท่านั่งในการฝึก Ashtanga Vinyasa Primary Series ถ้าฝึกในท่าทางที่เหมาะสมและถูกหลักแล้วการกระโดดทั้งสองแบบจะช่วยร่างกายของคุณในเรื่องต่างๆดังต่อไปนี้
• สร้างพลังความร้อนภายในร่างกาย
• ลบล้างรูปแบบการเคลื่อนไหวในอาสนะก่อนหน้าที่ทำมา ในทุกๆอาสนะได้มีการส่งผ่านพลังงานโดยผ่านช่องนาดิ nadis (ช่องทางพลังงานที่ผ่านต่อไปทั่วร่างกาย) การ jumping back and Jumping through จะช่วยเคลียร์ช่องนาดิ เพื่อที่จะเตรียมพื้นที่ไว้สำหรับอาสนะถัดให้ผ่านช่องนาดิเช่นกัน
• ช่วยให้กล้ามเนื้อตรงหัวไหล่มีการผ่อนคลาย
• ช่วยให้กล้ามเนื้อหลังส่วนล่างมีการผ่อนคลาย
• สร้างความแข็งแรงให้กับแกนกลางของร่างกาย การมีกล้ามเนื้อแกนกลางที่แข็งแรงเป็นสิ่งที่สำคัญเมื่อคุณฝึกในชุดท่าระดับที่สองใน the Second Series ให้ลึกขึ้น
• เสริมสร้างพื้นฐานความสมดุลให้กับแขนทั้งสองข้าง ซึ่งคุณจะต้องเจอใน the Second Series and Advanced Series
• สร้างความสมดุลในส่วนของกระดูกสันหลัง เพราะส่วนใหญ่ท่านั่งใน Primary Series ไม่ค่อยมีความสมดุล การ jumping back/ Jumping through จะช่วยจัดระเบียบกระดูกสันหลัง
เมื่อฝึกท่า Jumping through คำแนะนำคือให้เริ่มทำจากท่า Marichyasana D ทางด้านซ้ายก่อน อาสนะต่างๆถัดจากท่าบิดตัวลึกนี้ การ jumping through จะทำให้ช่วยทุ่นแรงและเวลา ซึ่งท้ายที่สุดแล้วจะช่วยคุณในการฝึกจำนวนของวินยาสะได้อย่างถูกต้องในการฝึกโยคะในระบบ the traditional Ashtanga Vinyasa
ความแตกต่างระหว่างการทำ jumping through ขาตรงกับการขาไขว้ขึ้นอยู่กับความยืดหยุ่นของกลุ่มกล้ามเนื้อขาด้านหลัง การ Jumping through ขาตรง ต้องมีความยืดหยุ่นมาพมควรในกล้ามเนื้อชิ้นนี้ แล้วจะต้องมีความยืดหยุ่นมากสักเพียงใดกันล่ะ ลองทดสอบตัวเองโดยใช้บททดสอบดังต่อไปนี้
1.นั่งยืดหน้าขาไปด้านหน้า
2.ค่อยๆเอนตัวไปด้านหน้า โดยไม่ใช้มือดึงตัวเองลงไป
3.เคลื่อนหน้าท้องให้ใกล้กับต้นขาเท่าที่จะทำได้โดยไม่บังคับตัวเอง จากนั้นยืดแขนไปข้างหน้า
ถ้าหากมือของคุณอย่างน้อยหนึ่งในสี่ของท่อนแขนส่วนล่างสามารถยืดผ่านเกินส่วนของฝ่าเท้า นั่นหมายความว่า ร่างกายคุณมีความยืดหยุ่นเพียงพอที่จะสามารถ กระโดด Jumping through ขาตรงได้ ถ้าคุณยังต้องการทดสอบความยืดหยุ่นของกลุ่มกล้ามเนื้อขาด้านหลัง และต้องการฝึก Jumping through แบบขาไขว้ คุณสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.itsyogasatellite.com/2015/02/08/how-to-jump-through-using-your-body-and-your-breathing/
หากคุณสามารถทำบททดสอบก่อนหน้าโดยไม่มีปัญหาได้แล้ว แต่ยังรู้สึกว่าการกระโดด Jumping through แบบขาตรงยังค่อนข้างท้าทายสำหรับคุณ ด้านล่างต่อไปนี้เป็นเทคนิคต่างๆที่ช่วยให้คุณฝึกท่านี้ได้ง่ายขึ้น
เมื่อเท้าของคุณยกจากพื้นได้แล้ว จากท่า Downward Facing Dog พยายามทำเข่าให้งอไว้เล็กน้อย ดึงหน้าขาให้ใกล้ชิดกับอกเหมือนกับคุณกำลังทำท่า Paschimottanasana ในอากาศ ในตอนเริ่มต้น อย่ายกสะโพกสูงเกินไป ให้เน้นไปที่การเคลื่อนไหวของสะโพกในแนวนอน จุดโฟกัสของคุณในระหว่างการฝึกควรอยู่ที่ด้านหน้า อาจจะประมาณ 1 ฟุตจากมือทั้งสองข้างของคุณ ซึ่งนี่เป็นเทคนิคที่ช่วยให้คุณเคลื่อนไปที่ด้านหน้า
พยายามดให้ไหล่อยู่เหนือข้อมือ
กระชับเท้าและนิ้วเท้าตลอดการเคลื่อนไหว
บีบต้นขาด้านในเข้าหากัน
กดมือทั้งสองข้างลงเพื่อเพิ่มพื้นที่ว่างระหว่างเท้าและพื้น
ท้ายสุด ถ้าคุณสามารถเคลื่อนขาของคุณผ่านได้ ในขณะที่คุณกำลังหย่อนตัวลงเพื่อที่จะนั่ง พยายามจำไว้ว่า ให้ไหล่นำข้อมือและสะโพกให้อยู่ด้านหลังข้อมือ
พวกเราทราบว่าข้อมูลค่อนข้างเยอะถ้าจะศึกษาและจำได้ในครั้งเดียว และบางส่วนของมีความยากในการจินตนาการท่า เพื่อที่จะช่วยให้คุณเข้าใจในหลักการเหล่านี้ได้ดีขึ้น ให้เข้าไปดูตามลิ้งนี้ว่าทิปเหล่านี้ช่วยในการเรื่องการเคลื่อนไหวได้อย่างไร : https://youtu.be/WaeKnTwgaHo
หากคุณมีคำถามหรือข้อสงสัยเกี่ยวกับหัวข้อนี้หรืออยากทราบเพิ่มเติมเกี่ยวกับการฝึกโยคะ สามารถติดต่อเราได้ที่ info@brightyoga.com เรามีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะได้พูดคุยกับคุณ ขอให้สนุกกับการฝึก
นมัสเต
ทีมงาน Bright Yoga
การกระโดด Jump through โดยใช้ร่างกายและการหายใจ
การกระโดด Jump through คือการเคลื่อนไหวที่ต้องการความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อขาด้านหลังกล้ามเนื้อก้น และ ข้อมือ ที่ขึ้นอยู่กับความยืดหยุ่นของด้านหลังของท่อนแขนส่วนล่าง
ส่วนของร่างกายที่เกี่ยวข้อง
กล้ามเนื้อแกนกลาง กล้ามเนื้องอข้อต่อสะโพก และหัวไหล่
และสิ่งที่สำคัญคือ ไม่ว่าท่าที่ทำจะมีความเป็นไปไม่ได้มากเพียงใดก็ตาม ขอแค่ให้คุณลองฝึก และมีความสุขกับการฝึกในการทำก็พอ
เมื่อคุณพยายามกระโดด Jump through โปรดจำไว้ว่า
หายใจออก
1) งอขาให้เพียงพอที่จะยกสะโพกสูงขึ้นและสามารถใช้กล้ามเนื้อเนื้อขา ในช่วงที่คุณลดระดับขาลงจนกระทั่งก้นแตะเท้า นั่นหมายถึงว่าคุณจะเสียความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อหน้าขาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลองนึกภาพว่าคุณกระโดดในท่ายืนและย่อขาตอนลงมาสู่พื้นในท่า Squat การกระโดดแบบนี้ค่อนข้างจะเป็นไปด้วยความยาก
2) การเพ่ง ในขณะที่งอเข่า ให้มองไปยังด้านหลังของฝ่ามือ เมื่อเท้าของคุณลอยจากพื้น ให้เพ่งจุดมองไปที่ด้านหน้า
หายใจเข้า
3) ในช่วงที่เท้าลอยจากพื้น กดเข่าให้ใกล้อกการทำเช่นนี้จะทำให้หลังของคุณมีลักษณะโค้ง ลักษณะเช่นนี้จะทำให้คุณสามารถใช้ความยาวของแขนได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้การทำเช่นนี้จะทำให้แกนกลางของลำตัวทำงานโดยอัตโนมัติ (ในภาพที่ 2 และ 3 ไม่มีช่องว่างระหว่างหน้าขาและอก)
4) กระชับขาโดยกระดกปลายเท้าเข้าหาหน้าแข้งของขาฝั่งตรงข้าม (สังเกตลักษณะของเท้าในภาพที่ 2)
5)ให้หัวไหล่เคลื่อนไปด้านหน้าของข้อมือ และให้น้ำหนักของร่างกายไว้ที่มือ สิ่งที่จะช่วยป้องกันคุณไม่ให้ล้มและกระแทกพื้นก็คือปลายนิ้วมือทั้งหมด กดพวกมันลง โดยเฉพาะนิ้วชี้กับนิ้วโป้ง (สังเกตมุมระหว่างหัวไหล่และข้อมือในภาพที่ 2 และ 3)
หายใจออก
6) ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่คนส่วนมากมักจะหยุดชะงัก หากเท้าของคุณแตะพื้น ให้พยุงตำแหน่งที่คุณกำลังทำและทำเท่าที่ทำได้แบบเต็มที่ โดยยังคงกดมือกับพื้นไว้ หายใจได้ตามที่ร่างกายต้องการ
7) ถ้าคุณสามารถสอดขาผ่านได้ให้ลองเหยียดขาออก
ผมหวังว่าเทคนิคที่กล่าวมานี้พอที่จะช่วยคุณได้ หากข้อมูลทั้งหมดนี้มีประโยชน์สำหรับคุรและคนอื่นๆ คุณสามารถแชร์ได้
ขอบคุณมากครับ
นมัสเต